เป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ชนิดสองขั้วคือ แอโดน (Anode,A) ซึ่งต่ออยู่กับสารกึ่งตัวนำชนิด P และแคโธด (Cathode,K) ซึ่งต่ออยู่กับสารกึ่งตัวนำชนิด N ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ มีคุณสมบัติยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ทางเดียวเมื่อป้อนแรงดันไฟฟ้าตรงขั้วและจะไม่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้เมื่อป้อนแรงดันไฟฟ้ากลับขั้ว
ประเภทของไดโอด
1.ไดโอดเปล่งแสงหรือแอลอีดี (Light Emitting Diode,LED)
คุณลักษณะพิเศษคือ สามารถเรืองแสงได้เมื่อได้รับไบอัสตรง
สัญลักษณ์ที่ใช้ในวงจร
2.โฟโตไดโอด (Photo Diode)
เป็นไดโอดที่อาศัยแสงจากแหล่งภายนอกผ่านเลนซ์ ซึ่งฝังตัวอยู่ระหวางรอยต่อ p-n เพื่อกระตุ้นให้ไดโอดทำงาน เมื่อเลนซ์ของโฟโตไดโอดได้รับแสงสว่างจะเกิดกระแสรั่วไหล ปริมาณกระแสรั่วไหลนี้เพิ่มขึ้นตามความเข้มของแสง
สัญลักษณ์ที่ใช้ในวงจร
3.ไดโอดกำลัง (Power Diode)
เป็นไดโอดที่ออกแบบให้บริเวณรอยต่อมีช่วงกว้างมากกว่าไดโอดทั่วไป เพื่อนำไปใช้กับงานที่มีกำลังไฟฟ้าสูง กระแสสูงและทนต่ออุณหภูมิสูงได้ เช่น ประกอบเป็นวงจรเรียงกระแสในอิเล็กทรอนิกส์กำลัง จะเห็นได้ว่าเมื่อพิกัดกระแสไฟฟ้ามีค่าหลายร้อยแอมป์ ทำให้ไดโอดมีอุณหภูมิขณะทำงานสูง โดยทั่วไปจึงนิยมใช้ร่วมกับตัวระบายความร้อน (Heat Sink) เพื่อเพิ่มพื้นที่ระบายความร้อนภายในตัวไดโอดกำลัง
4.ไดโอดวาแรกเตอร์หรือวาริแคป (Varactor or Varicap Diode)
มีลักษณะพิเศษคือ สามารถปรับค่าคาปาซิแตนซ์เชื่อมต่อ (Ct) ได้โดยการปรับค่าแรงดันไบอัสกลับ ไดโอดประเภทนี้มีโครงสร้างเหมือนกับไดโอดทั่วไป เรามักนำวาริแคปไปใช้ในวงจรปรับความถี่ เช่น วงจรจูนความถี่อัตโนมัติ (Automatic Fine Tunning,AFC) และวงจรกรองความถี่ซึ่งปรับช่วงความถี่ได้ตามต้องการ (Variable Bandpass Filter) เป็นต้น
5.ซีเนอร์ไดโอด (Zener Diode)
เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่นำกระแสได้เมื่อได้รับไบอัสกลับ และระดับแรงดันไบอัสกลับที่นำซีเนอร์ไดโอดไปใช้งานได้เรียกว่า ระดับแรงดันพังทลายซีเนอร์ (Zener Breakdown Voltage,Vz) ซีเนอร์ไดโอดจะมีแรงดันไบอัสกลับ (Vr) น้อยกว่า (Vz) เล็กน้อย ไดโอดประเภทนี้เหมาะที่จะนำไปใช้ควบคุมแรงดันที่โหลดหรือวงจรที่ต้องการแรงดันคงที่ เช่น ประกอบอยู่ในแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงหรือโวลเทจเรกูเลเตอร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น